หน้าแรก » กระบวนการทางกายภาพ

รับติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย - ไดน่า ฟลูอิด

กระบวนการทางกายภาพ (Physical Unit Operation)

  1. ตะแกรง (Screen)
  2. การบดตัด (Comminution)
  3. การกำจัดตะกอนหนัก (Grit Removal)
  4. การกำจัดน้ำมันและไขมัน (Oil and Grease Removal)
  5. การตกตะกอน (Sedimentation)
  6. การทำให้ตะกอนลอย (Flotation)
  7. การกรอง (Filtration)
กระบวนการทางกายภาพ

1.ตะแกรง(Screen)
ตะแกรงมีไว้ใช้ในการดักเศษขยะต่างๆ จากน้ำเสีย เช่น เศษไม้ เศษกระดาษ เศษพลาสติก ฯลฯ มีประโยชน์มากต่อการช่วยเสริมประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสีย และป้องกันการเสียหายที่มีต่อเครื่องจักรกลต่างๆ เช่นเครื่องสูบน้ำ เครื่องเติมอากาศเป็นต้น ตะแกรงมีอยู่ด้วยกัน2แบบ คือ ตะแกรงหยาบและตะแกรงละเอียดซึ่งมีช่องว่างระหว่างแท่งเหล็กตั้งแต่25มม.ขึ้นไป และมีอยู่ระหว่าง2ถึง6มม.ตามลำดับ


2.การบดตัด (Comminution)
เครื่องบดตัดมีหน้าที่บดตัดศษขยะที่ไหลมากับน้ำเสีย เพื่อให้เศษขยะนี้มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับฟันของคนเราที่ทำการบดเคี้ยวอาหารให้เล็กลงเพื่อช่วยในการย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น


3.การกำจัดตะกอนหนัก (Grit Removal)
ตะกอนหนักคือ พวกกรวด หิน ทราย หรือตะกอนต่างๆที่มีความถ่วมจำเพาะสูงตะกอนหนักดังกล่าวนี้จำเป็นต้องถูกกำจัดออกไปจากน้ำเสียเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆดังนี้

  • เพื่อป้องกันไม้ให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องจักรกลต่างๆ เช่น เครื่องสูบน้ำ
  • เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำเสีย
  • เพื่อป้องกันไม้ให้จับตับเป็นก้อนใหญ่ขึ้นซึ่งทำให้ระบบบำบัดน้ำเสีย เสียหายได้

ระบบกำจัดตะกอนหนักมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดดังนี้

  • ถังกำจัดตะกอนหนักที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  • ถังกำจัดตะกอนหนักที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจตุจัสหรือวงกลม
  • ถังกำจัดตะกอนหนักที่ใช้ระบบเป่าอากาศ (Aerated Grit Chamber)

4.การกำจัดน้ำมันและไขมัน (Oil and Grease Removal)
น้ำมันและไขมันจะพบมากในน้ำทิ้งจากร้านอาหารทั่วไป สถานีจำหน่ายน้ำมัน อู่ซ่อมรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม
ประเภทที่มีไขมัน การกำจัดน้ำมันและไขมันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี คือ

  • เติมคลอรีน ประมาณ2-5มก./ลิตร
  • เติมคลอรีนร่วมกับการเป่าอากาศ
  • การทำให้ลอย(Flotation) แล้วเก็บกวาดออกจากผิวน้ำ
  • การเพิ่มอุณหภูมิ เพื่อช่วยลดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันหรือไขมันทำให้ลอยขึ้นมาได้มาก
  • การขัดถูใช้สำหรับพวกน้ำมันหรือไขมันเกาะตามถังหรือเครื่องมือต่างๆ
  • การเป่าอากาศเพื่อให้ฟองอากาศที่มีจำนวนมหาศาลพาพวกน้ำมันหรือไขมันลอยขึ้นมาได้มาก

สำหรับระบบกำจัดไขมันหรือน้ำมันแบบที่นิยมใช้เป็นถังที่มีแผ่นขวางอยู่ในบ่อเพื่อดักไขมันไว้ไห้ได้ปริมาณมากหลัการออกแบบถังดักไขมันคือ ต้องมีขนาดพื้นที่ผิวของถังเพียงพอกับปริมาณไขมันที่จะลอยขึ้นมาความเร็วของน้ำไหลภายในถังต้องต่ำที่สุดเท่าที่จะมีได้ทางออกต้องไม่ให้พวกไขมันหลุดลอยออกไปได้และถ้าเป็นถังดักไขมันที่ใช้คนเก็บกวาดขึ้นมาต้องหมั่นคอยเก็บขึ้นมาให้หมดทุกวัน


5.การตกตะกอน (Sedimentation)
การตกตะกอนเป็นวิธีการแยกตะกอนแขวนลอยออกจากน้ำเสีย โดยอาศัยการจมตัวลงของตะกอนแขวนลอยที่มีค่าความถ่วงจำเพาะของตะกอนสูงกว่าน้ำ ในระบบบำบัดน้ำเสียทั้วไปมักมีถังตกตะกอนอยู่2ชนิด คือ ถังตกตะกอนที่ทำหน้าที่แยกตะกอนต่างๆออกจากน้ำเสียก่อนที่จะไหลไปลงถังบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีชีววิทยา ซึ่งนิยมเรียกว่าถังตกตะกอนแรก (Primary Sedimentation tank) และถังตกตะกอนอีกชนิดคือ ถังตกตะกอนที่ใช้แยกตะกอนชีวภาพหรือตะกอนเคมีออกจากน้ำเพื่อให้ได้น้ำใสสะอาดซึ่งนิยมเรียกว่าถังตกตะกอนที่สอง (Secondary Sedimentation Tank) ถังตกตะกอนยังสามารถแบ่งแยกออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

  • ถังสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  • ถังสี่เหลี่ยมจตุรัส
  • ถังทรงกลม
  • ถังแบบมีแผ่นเอียงติดตั้ง

6.การทำให้ตะกอนลอย (Flotation)
ระบบนี้มีหลักการคือ แยกตะกอนออกจากน้ำเสียด้วยวิธีทำให้ตะกอนต่างๆในน้ำเสียลอยขึ้นสู่บริเวณชั้นบนของผิวน้ำ เพื่อทำการกวาดตะกอนลอยทิ้งออกไปวิธีนี้นิยมใช้กับตะกอนประเภทที่ยากต่อการตกตะกอน เช่น พวกไขมันสัตว์ ตะกอนเบาต่างๆเป็นต้น ระบบนี้จะใช้พื่นที่ในการแยกตะกอนน้อยกว่าวิธีตกตะกอน เพราะใช้เวลาน้อยกว่าในการแยกตะกอนออกจากน้ำเสียแต่ระบบนี้ต้องใช้เครื่องจักรกลและพลังงานมากกว่าของวิธีตกตะกอน และอาจจำเป็นต้องเติมสารเคมีเข้าช่วยในการแยกตะกอนด้วย เช่น สารส้มFeCl3เป็นต้น

วิธีการทำให้ลอยขึ้นมามีอยู่ด้วยกัน3วิธีดังนี้

  • การลอยด้วยอากาศละลาย (Dissolved-air Flotation)
  • การลอยตัวด้วยอากาศ (Air Flotation)
  • การลอยตัวด้วยสุญญากาศ (Vacumm Flotation)
  • การลอยตัวด้วยอากาศละลาย(Dissolved-air Flotation)

หลักการของวิธีนี้คือเป่าอากาศลงไปในน้ำเสียภายใต้ความดัน2- 3บรรยกาศ จากนั้นจึงปล่อยความดันเข้าสู่สภาวะความดันบรรยากาศ
การลอยตัวด้วยอากาศ(Air Flotation)

หลักการของวิธีนี้คือการเติมอากาศหรือเป่าอากาศลงไปในน้ำเสียโดยตรง ณ ความดันบรรยากาศในการการเป่าอากาศจะทำให้เกิดฟองอากาศที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของฟองอากาศประมาณ2-3มม.ได้นำพาตะกอนต่างๆลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ จากนั้นพวกตะกอนที่ลอยขึ้นมาจะถูกกวาดทิ้งออกไป สำหรับฟองอากาศที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะส่งผลให้ความเร็วของฟองอากาศที่ลอยขึ้นมามีมากขึ้นด้วย

การลอยตัวด้วยสุญญากาศ(Vacumm Flotation)
หลักการของวิธีนี้คือพยายามเป่าอากาศลงในน้ำเสียจนถึงจุดอิ่มตัว ซึ่งมีอยู่2วิธี คือ เป่าอากาศลงในน้ำเสียโดนตรงหรืออีกวิธีคือ ปล่อยให้อากาศเข้าไปในเครื่องสูบน้ำเอง ระบบน้ำจะใช้ถังปิด ซึ่งจะเก็บน้ำที่ถูกเป่าอากาศลงไปจนถึงจุดอิ่มตัว ขณะนี้ภายในถังจะมีสภาพเป็นสูญญากาศเมื่อถังนี้ถูกเปิดออกโดยใช้ตัวควบคุมวาล์วพวกอากาศที่ละลายอยู่ในน้ำจะแยกออกมาจากน้ำในลักษณะของฟองอากาศเล็กๆ พวกฟองอากาศเล็กๆเหล่านี้จะพาตะกอนต่างๆในน้ำเสีย ลอยขึ้นมาลอยขึ้นมาบนผิวน้ำในลักษณะฝาไข (Scum) ซึ่งสามารถแยกออกจากน้ำได้โดยการกวาดและหรือการสูบออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องการพื้นที่สำหรับการติดตั้งระบบน้อยกว่าสองวิธีแรก หลักการของระบบนี้จะมีความคล้ายคลึงกับการเปิดขวดน้ำอัดลม


7.การกรอง (Filtration)
​​​​​​​ระบบกรองน้ำแรกเริ่มเดิมทีถูกนำมาใช้ในงานประปาเท่านั้น ต่อมาในปี คศ.1949มีการนำเอาระบบกรองน้ำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดขั้นที่สองแล้ว(Effluent) โดยใช้วิธีกรองน้ำทิ้งที่ไหลล้นออกจากถังตกตะกอนที่สอง ทำให้น้ำทิ้งที่ผ่านระบบกรองน้ำแล้วจะไม่มีตะกอนแขวนลอยหลงเหลืออยู่ ทำให้สามารถลดค่าปริมาณตะกอนแขวนลอย(TSS)และค่า(BOD) ลงไปได้อีกมาก ประโยชน์ที่ได้นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดที่ไม่สามารถแยกตะกอนออกจากน้ำทิ้งได้หมด

เครื่องกรองน้ำที่ใช้กันในระบบบำบัดน้ำเสียหรือใช้ในการกรองน้ำทิ้งที่ได้ผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นที่สองแล้วส่วนใหญ่แล้วจะเป็นน้ำที่ไหลล้นออกจากถังตกตะกอนถังที่สอง โดยทั่วไปเครื่องกรองน้ำสำหรับงานลักษณะนี้จะเป็นประเภทที่ให้ตะกอนติดค้างอยู่ในชั้นกรองแล้วจึงทำการล้างเครื่องกรองเพื่อให้ตะกอนที่ค้างอยู่ในชั้นกรองหลุดไหลทิ้งออกไป ประเภทของเครื่องกรองน้ำอาจจำแนกได้อย่างกว้างๆคือ

  • แบบกรองเร็ว (Rapid Sand Filter)ใช้กับปริมาณน้ำเสียมากๆ
  • แบบกรองช้า (Slow Sand Filter)ใช้กับปริมาณน้ำเสียน้อยมีพื้นที่ติดตั้งเพียงพอ
  • แบบกรองใช้ความดัน (Pressure Filter) ใช้กับปริมาณน้ำเสียมาก มีพื้นที่จำกัด